ย้อนรอยฟุตบอลประเพณี

จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

               งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์เป็นกิจกรรมที่เหล่านิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ล้วนเฝ้าคอยที่จะเข้าไปมีส่วนร่วม  ทั้งขณะกำลังศึกษา รวมถึงเมื่อต่างเป็นนิสิตเก่าและนักศึกษาเก่า ซึ่งวันงานฟุตบอลประเพณีเป็นวันที่ทุกคนได้กลับมารวมพลังแห่งความรักและความรักและความสมัคคีระหว่างเพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมสถาบันกันอีกครั้งหนึ่ง

               งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๗๗  จากความคิดของนิสิตและนักศึกษากลุ่มหนึ่งซึ่งเคยศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเดียวกันคือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ประกอบด้วยนายทองต่อ ยมนาค (พลตำรวจโทต่อศักดิ์ ยมนาค) และนายบุศย์ สิมะเสถียร จากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง นายทอม จอห์สัน (นายปถม ชาญสรรค์) นายประสงค์ ชัยพรรค และนายประยุทธ สวัสดิสิงห์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ปรึกษาหารือกันด้วยความปรารถนาจะให้นิสิตและนักศึกษา ๒ มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดของประเทศในขณะนั้น มีความรักใคร่กลมเกลียว เพื่อจะได้ร่วมกันสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติต่อไปในอนาคต โดยเล็งเห็นตัวอย่างจากการแข่งขันเรือประเพณีของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์แห่งสหราชอาณาจักรแต่คณะผู้ริเริ่มเคยเป็นนักกีฬาฟุตบอลของโรงเรียนมาก่อน จึงได้ตกลงที่จะจัดการแข่งขันฟุตบอลประเพณีขึ้น

               ผู้ริเริ่มฝ่ายมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองได้เสนอเรื่องต่อผู้ประศาสน์การในขณะนั้นคือ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผ่านศาสตราจารย์ ดร.เดือน บุนนาค เลขาธิการ ส่วผู้ริเริ่มฝ่ายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เสนอเรื่องต่ออธิการบดี  ฝ่ายสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งหม่อมราชวงศ์สุมนชาติ สวัสดิกุล (ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุมนชาติ หม่อมราชวงศ์สลับลดาวัลย์เป็นผู้ดูแล เมื่อได้รับอนุมัติจากทั้ง ๒ ฝ่าย มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองได้ทำหนังสือเชิญจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าร่วมการแข่งขันและรับเป็นเจ้าภาพครั้งแรกโดยจัดการแข่งขันขึ้นที่สนามหลวง (ทุ่งพระเมรุ) ในวันอังคารที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ เก็บค่าผ่านประตูคณะละ ๑ บาท นำรายได้บริจาคบำรุงสมาคมปราบวัณโรค ซึ่งเป็นโรคร้ายแรงในขณะนั้น  และถือเป็นธรรมเนียมที่จะนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการจัดงานทุกปี บริจาคบำรุงการกุศลสาธารณะ อาทิ บริจาคบำรุงสภากาชาดไทย บริจาคสงเคราะห์ผู้ประสบอัคคีภัย บริจาคบำรุงกรมอากาศยานทหารบก (กองทัพอากาศ) บริจาคสมทบทุนอนันทมหิดล เป็นต้น  รวมทั้งบริจาคสมทบทุนทุนการศึกษาของนิสิตและนักศึกษาทั้ง ๒ สถาบัน และตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๑  เป็นต้นมาก็ได้นำรายได้ทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยด้วย

               งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์  ครั้งแรกมีผู้เข้าชมจำนวนไม่มากนัก เนื่องจากมีการประชาสัมพันธ์ในช่วงสั้นๆ เท่านั้น  การเชียร์ยังไม่มีรูปแบบใด นอกจากไปยืนเชียร์ริมสนามเป็นกลุ่มๆ เพราะไม่มีอัฒจันทร์ โดยฝ่ายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะยึดขอบสนามขวา ส่วนฝ่ายมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองจะยึดขอบสนาม ผลการแข่งขันเสมอ ๑ ต่อ ๑ แต่นักฟุตบอลสมัยนั้นก็เป็นนักฟุตบอลทีมชาติกันหลายคน  มาจากสโมสรต่างๆ อาทิ จากทีมชายสด กรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองจะมีนักฟุตบอลทีมชาติมากกว่า เพราะเป็นมหาวิทยาลัยเปิด รายชื่อผู้เล่นของ ๒ มหาวิทยาลัยในครั้งแรกมีดังนี้

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                             มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
นายสมัย   สารคุณ นายอนันต์  พัฒนะ
นายทอม  จอห์นสัน นายเส็ง  อ๊วงตระกูล
นายมาลา  ศีตะจิตต์ นายทองต่อ  ยมนาค
นายเอี่ยม  ชื่นมนัส นายสาย  กำไลนาค
หม่อมราชวงศ์ปราณเนาวศรี  นวรัตน์ นายประภาส  จิระเสวี
นายประยุทธ  สวัสดิสิงห์ นายทวี  ฉัตรเนตร
นายรัศมี  สุทธิคำ นายสิทธิ  ธรรมพานิช
นายชุด  อยู่สวัสดิ์ นายประไพ  สวัสดิ-ชูโต
นายพิมล   กลกิจ นายบุศย์  สิมะเสถียร
นายพนม   จักกะพาก นายเล็ก  ดีคำโปส
นายสนิท  โชติเวช นายละออ  เมฆทางกลด
นายอรุณ  รัตตะรังสี

               สำหรับงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๓ ได้มีผู้เข้าร่วมเล่นพิเศษเป็นอาจารย์คือ ศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล และหลวงศรีสมัทวิชากิจ

               งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ ๒ ถึงครั้งที่ ๔ ได้ย้ายจากสนามหลวงมาจัด ณ สนามโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย  เพราะมีรั้วรอบขอบชิด สามารถเก็บเงินจากผู้ชมได้สะดวกและเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น เมื่อถึงครั้งที่ ๕  ปีพ.ศ. ๒๔๘๑  ก็ได้ย้ายมาจัดที่สนามศุภชลาศัยเรื่อยมา เฉพาะครั้งที่ ๔๑, ๔๒, และ ๔๔ เท่านั้นที่จัดขึ้น ณ สนามจารุเสถียร เนื่องจากสนามศุภชลาศัยปิดปรับปรุง

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ได้จัดขึ้นทุกปียกเว้นช่วงที่บ้านเมืองมีเหตุการณ์ไม่เอื้ออำนวย รวม ๑๑ ครั้งได้แก่

  • ปีพ.ศ. ๒๔๘๕ – เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในพระนคร
  • ปีพ.ศ. ๒๔๘๗-๒๔๙๑ – เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา
  • ปีพ.ศ. ๒๔๙๔ – เกิดกบฎแมนฮัตตัน
  • ปีพ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๘ – เกิดเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖
  • ปีพ.ศ. ๒๕๒o – เกิดเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙

               แม้จะงดเว้นไปบางปีจนทำให้ ๗๔ ปี ที่ผ่านมา มีการจัดงานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ๖๓ ครั้ง แต่งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ก็มีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับ อาทิ ในครั้งที่ ๒ การเชียร์ของฝั่งจุฬาฯ นิสิตหญิงมีการสวมถุงเท้าสีชมพูและโบกผ้าสีชมพู พอตื่นเต้นก็ตะโกนร้องว่า ชู้ต ชู้ต ชู้ต หลังจากนั้นในครั้งที่ ๓ การเชียร์ของฝั่งธรรมศาสตร์ได้มีการแจกธงสีเหลืองแดงสำหรับโบกรวมถึงหมวกหนีบทำด้วยผ้าสีแดงสำหรับสวมมีกองเชียร์ประมาณ ๓oo คน ตั้งแถวบริเวณถนนหน้าโดม เช่ารถเมล์ขนาดกลางประมาณ ๔-๕ คันไปส่งที่สนาม และนักศึกษาบางส่วนก็ไปที่สนาม เสื้อเชียร์ทำจากเสื้อขาว นำมาย้อมสีเหลืองแล้วเอาผ้าสีแดงเย็บทาบลงไปรอบตัว เช่นเดียวกับเสื้อเชียร์ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ในเวลาต่อมามีการนำเสื้อไปย้อมสีชมพู ยกเว้นนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์จะนำเสื้อไปย้อมสีกรมท่า ด้วยเป็นธรรมเนียมสากลว่า วิศวกรจะต้องใส่เสื้อช้อปสีน้ำเงิน ต่างจากในปัจจุบันที่มีการผลิตและจำหน่ายเสื้อเชียร์เป็นการเฉพาะทั้ง ๒ มหาวิทยาลัย แต่ยังคงใช้สีเสื้อตามสีประจำมหาวิทยาลัยคือ สีชมพูของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสีเหลืองแดงของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

               การเชียร์ในระยะแรกจะนำโดยประธานเชียร์ของมหาวิทยาลัย ส่วนผู้ช่วยคือสตาฟฟ์เชียร์ ซึ่งบางส่วนจะเป็นเชียร์ลีดเดอร์ด้วย เชียร์ลีดเดอร์นั้นจะเป็นผู้นำเชียร์ที่กองเชียร์จะร้องเพลงตามการให้จังหวะปรบมือ และจะมีแต่เชียร์ลีดเดอร์ชาย จนถึงงานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ ๒๕ ปีพ.ศ.๒๕๖๘ จึงเริ่มมีเชียร์ลีดเดอร์ผู้หญิงเข้ามาการแต่งกายในยุคนั้นทั้งชายและหญิงจะแต่งตัวเหมือนกันใส่ชุดเรียบง่าย จุดเด่นของงานจะอยู่ที่ดรัมเมเยอร์มากกว่า จนระยะต่อมาดรัมเมเยอร์เริ่มหายไป เชียร์ลีดเดอร์มีการพัฒนาเครื่องแต่งกายให้แปลกใหม่และสวยงาน มีการคิดค้นท่าเต้นที่หลากหลาย โดยอาศัยพื้นฐานจากนาฎศิลป์ไทยโมเดิร์นดานซ์ บัลเลต์ และตำรวจจราจร รวมทั้งต้องมีการฝึกซ้อมมากขึ้น  และมีการเปิดรับสมัครนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมาเป็นเชียร์ลีดเดอร์แทนการสรรหาโดยรุ่นพี่ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ก็ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

               ส่วนขบวนพาเหรดนั้นมีขึ้นอย่างจริงจังในงานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ ๕ ปีพ.ศ. ๒๔๘๑ เมื่อย้ายมาจัด ณ สนามศุภชลาศัย ซึ่งเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ มีพื้นที่กว่างขวางโดยขบวนพาเหรดสมัยก่อนจะมีความยาวมากประกอบด้วยดรัมเมเยอร์ วงดุริยางค์ ขบวนนิสิตนักศึกษา รวมทั้งขบวนล้อการเมือง ต่อมาได้มีการลดขบวนลงเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์เอาไว้ โดยเฉพาะการล้อการเมืองซึ่งได้กลายมาเป็นธรรมเนียมอย่างหนึ่งในงานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ และได้รับการติดตามจากบุคคลทั่งไปอย่างมากในยามที่เสรีภาพในการเสนอข่าวสารการเมืองยังถูกปิดกั้น แต่ก่อนจะมีการล้อการเมืองเกิดขึ้นขบวนพาเหรดก็ดได้มีการล้อกันระหว่าง ๒ มหาวิทยาลัยอยู่แล้วสำหรับลำดับของขบวนพาเหรด ฝ่ายเจ้าภาพจะให้เกียรติอีกฝ่ายหนึ่งเดินเข้าสนามก่อน เช่นเดียวกับชื่องานที่หากฝ่ายใดเป็นเจ้าภาพก็จะชื่อขึ้นก่อนคือ งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ หรืองานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ

               การแปรอักษรอันเป็นอันอีกหนึ่งจุดเด่นของงานเริ่มขึ้นในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ ๑๒ ปีพ.ศ. ๒๔๙๔ ซึ่งเป็นปีแรกที่ทีมชนะเลิศจะได้รับถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นปีแรกที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานส่วนก่อนหน้านั้นได้มีการกราบทูลเชิญประธานคณะผู้สำเร็จราชการในพระองค์ทรงเป็นประธานตั้งแต่ครั้งที่ ๒ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ ๑o ปีพ.ศ. ๒๔๙๒ และงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ ๑๑ ปีพ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งได้พระราชทานถ้วยรางวัลด้วย  จุดเริ่มแรกของการแปรอักษรบนอัฒจันทร์นั้นมาจากนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเลิกเรียนในตอนเช้า แล้วยังใส่เสื้อสีกรมท่าอยู่ มานั่งเชียร์เกาะกลุ่มเป็นรูปพระเกี้ยววางตั้งอยู่บนพานทั้งหมดเป็นสีน้ำเงิน และมีพื้นเป็นกองเชียร์จุฬาฯ ใส่เสื้อสีชมพู  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาการแปรอักษรก็ได้มีพัฒนาการขึ้นมาเรื่อยๆ เช่นในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ ๑๘ ปีพ.ศ. ๒๕o๑ ได้มีการแปรอักษรเป็นคำว่า จุฬาฯ มธก.ภปร.ซียู และทียู และใส่เสื้อสีดำไว้ข้างใน  แล้ใช้เปิดตัวอักษรเป็นตัวเขียน และให้ถอดเสื้อที่สวมข้างนอกออกเป็นจังหวะภายหลังพัฒนาจากการแปรเป็นตัวอักษรมาเป็นการแปรเป็นภาพ โดยครั้งที่โดดเด่นมากคือ งานฟุตบอลประเพณี ครั้งที่ ๒o ปีพ.ศ. ๒๕o๓ ที่มีการแปรเป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ใช้โค้ค ๑ ต่อ ๑ ที่เวลาต่อมามีการดัดแปลงเป็นโค้ด ๑ ต่อ ๙ ๑ ต่อ ๑๖ และ ๑ ต่อ ๗๒ ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ ๓๘ ปีพ.ศ. ๒๕๒๕  การแปรตัวอักษรยังมีการนำไฟฉายมาใช้ รวมถึงมีการแปรอักษรเป็นถ้วยคำตอบโต้กันระหว่าง ๒ มหาวิทยาลัยซึ่งต้องมีการคาดเดาคำถามคำตอบไว้ล่วงหน้าด้วย ในส่วนของการปรบมือก็มีการพัฒนาไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เช่น โค้ดปรบมือเป็นภาพ ๒-๓ ภาพ วนไปวนมาด้วยท่าปรบมือ ๔ ท่าคือ ปรบเข้า ปรบออก ปรบเข้าแล้วปรบลง แบ่งออกเป็น ๖ จังหวะ ๑-๖ การปรบมือได้เปลี่ยนแปลงไปกระทั่งทำให้เกิดภาพอย่างต่อเนื่อง เช่น ภาพคนวิ่งจากขวาไปซ้าย ซึ่งมีลักษณะเหมือนภาพยนตร์ที่ฟิล์มแต่ละช่วงเคลื่อนไปอย่างช้าๆ นอกจากนี้ งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ยังก่อให้เกิดเพลงเชียร์มากมายที่นิสิตนักศึกษาขับร้องสืบทอดกันมา

               ในอดีตกิจกรรมต่างๆ  ในทุกระดับยังมีอยู่ไม่มากศูนย์การค้ามีอยู่ไม่กี่แห่ง การแข่งขันฟุตบอลเองก็มีอยู่ไม่กี่นัดงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสร์จึงไม่ได้เป็นกิจกรรมใหญ่ของ ๒ มหาวิทยาลัยเท่านั้น หากเป็นกิจกรรมใหญ่ของกรุงเทพมหานคร ในตอนเช้าของวันงานนิสิตนักศึกษาจะพากันขับรถเปิดประทุนวนรอบเมือง  เมื่อเจอกันก็จะร้องเพลงเชียร์ใส่กัน แต่ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกัน เช่น การกวาดถนน ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงรักษาการบำเพ็ญประโยชน์นี้ไว้ แต่ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบของกิจกรรม เช่น มีการจัดกิจกรรมเลือดไม่แบ่งสี โดยนิสิตนักศึกษาร่วมกันบริจาคโลหิตให้แก่สภากาชาดไทย เป็นต้น

               แม้ว่าในปัจจุบัน  งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ จะไม่ได้เป็นกิจกรรมใหญ่ระดับจังหวัดหรือระดับประเทศเหมือนเมื่อก่อน แต่ยังคงเป็นกิจกรรมที่นิสิตนักศึกษา และคณาจารย์ทุกๆ รุ่นของทั้ง ๒ มหาวิทยาลัย ยึดถือเป็นประเพณีที่จะต้องรักษาเอาไว โดยเสียสละทุ่มเทกันจัดงานมาถึง ๗๔ ปี ๖๔ ครั้ง การที่กิจกรรมใดจะคงอยู่ได้เป็นระยะเวลายาวนานเช่นนี้ กิจกรรมนั้นต้องเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าต่อผู้มีส่วนร่วมทุกคน ซึ่งคุณค่าของงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์นี้ไม่ได้อยู่ที่ผลการแข่งขันว่า มหาวิทยาลัยใดจะเป็นฝ่ายชนะ แต่อยู่ที่จุดมุ่งหมายของผู้ร่วมริเริ่มก่อตั้งนั่นคือ ความสามัคคี อันสอดคล้องกับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่พสกนิกรในปีมหามงคลที่ผ่านมา หากนิสิตนักศึกษาทุกคนได้ย้อนมองกลับไปค้นหาแก่นแท้ของงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ตั้งแต่อดีต แล้วนำข้อคิดนั้นมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตให้ทุกคนมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  ประเทศไทยของเราย่อมมีความวัฒนาสถาพรตลอดไป และท่านก็ย่อมได้ชื่อว่า เป็นนิสิตและนักศึกษาแห่ง ๒ สถาบันการศึกษาอันทรงเกียรตินี้อย่างนี้อย่างแท้จริง

 

อนุทินการแข่นขันฟุตบอลประเพณี

จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

ครั้งที่ วันที่ ผลการแข่งขัน จำนวนประตู ครั้งที่ วันที่ ผลการแข่งขัน จำนวนประตู
๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ เสมอ ๑-๑ ๓๓ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ธรรมศาสตร์ชนะ ๒-๑
พ.ศ. ๒๔๗๘ เสมอ ๓-๓ ๓๔ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ธรรมศาสตร์ชนะ ๒-o
พ.ศ. ๒๔๗๙ ธรรมศาสตร์ชนะ ๔-๑ ๓๕ ๒o ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ จุฬาฯ ชนะ ๒-o
พ.ศ. ๒๔๘o ธรรมศาสตร์ชนะ ๒-๑ ๓๖ ๒o มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๓ เสมอ o-o
พ.ศ. ๒๔๘๑ ธรรมศาสตร์ชนะ ๒-๑ ๓๗ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๔ เสมอ ๑-๑
พ.ศ. ๒๔๘๒ เสมอ o-o ๓๘ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๕ เสมอ ๒-๒
พ.ศ. ๒๔๘๓ เสมอ ๒-๒ ๓๙ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๖ เสมอ ๑-๑
พ.ศ. ๒๔๘๔ จุฬาฯ ชนะ ๒-o ๔o ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๗ ธรรมศาสตร์ชนะ ๑-o
พ.ศ. ๒๔๘๖ จุฬาฯ ชนะ ๓-๑ ๔๑ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๘ เสมอ ๑-๑
๑o ๓o ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ ธรรมศาสตร์ชนะ ๓-๒ ๔๒ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๙ เสมอ ๑-๑
๑๑ ๓o ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ จุฬาฯ ชนะ ๕-๓ ๔๓ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓o ธรรมศาสตร์ชนะ ๑-o
๑๒ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ เสมอ o-o ๔๔ ๓o มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๑ จุฬาฯ ชนะ ๒-๑
๑๓ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ ธรรมศาสตร์ชนะ ๓-๑ ๔๕ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ จุฬาฯ ชนะ ๒-๑
๑๔ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ จุฬาฯ ชนะ ๑-o ๔๖ ๒o มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เสมอ ๑-๑
๑๕ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ เสมอ ๒-๒ ๔๗ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เสมอ o-o
๑๖ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ เสมอ o-o ๔๘ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เสมอ ๑-๑
๑๗ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕oo ธรรมศาสตร์ชนะ ๓-๑ ๔๙ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ธรรมศาสตร์ชนะ ๒-๑
๑๘ ๒o ธันวาคม พ.ศ. ๒๕o๑ จุฬาฯ ชนะ ๓-๒ ๕o ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เสมอ ๒-๒
๑๙ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕o๒ ธรรมศาสตร์ชนะ ๒-๑ ๕๑ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ จุฬาฯ ชนะ ๒-๑
๒o ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕o๓ เสมอ ๑-๑ ๕๒ ๒o มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ธรรมศาสตร์ชนะ ๑-o
๒๑ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕o๔ เสมอ ๑-๑ ๕๓ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔o เสมอ ๑-๑
๒๒ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕o๕ เสมอ o-o ๕๔ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เสมอ o-o
๒๓ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕o๗ ธรรมศาสตร์ชนะ ๓-๑ ๕๕ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๒ จุฬาฯ ชนะ ๒-๑
๒๔ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕o๗ ธรรมศาสตร์ชนะ ๓-o ๕๖ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เสมอ o-o
๒๕ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕o๘ ธรรมศาสตร์ชนะ ๒-๑ ๕๗ ๒o มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔ จุฬาฯ ชนะ ๒-o
๒๖ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕o๙ ธรรมศาสตร์ชนะ ๒-o ๕๘ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕ เสมอ ๒-๒
๒๗ ๓o ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑o เสมอ ๑-๑ ๕๙ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๖ เสมอ o-o
๒๘ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ จุฬาฯ ชนะ ๒-o ๖o ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เสมอ o-o
๒๙ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ธรรมศาสตร์ชนะ ๑-o ๖๑ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ธรรมศาสตร์ชนะ ๑-o
๓o ๓o ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เสมอ o-o ๖๒ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ จุฬาฯ ชนะ ๒-o
๓๑ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ธรรมศาสตร์ชนะ ๔-o ๖๓ ๒o มกราคม พ.ศ. ๒๕๕o เสมอ
๓๒ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕